วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขอสอบปลายภาค

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
เทศบัญญัติ                                                                                                                                                                                                                ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือเป็นกฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดินหรือรัฐหรือหมายถึง  กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งกฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกฎหมายดังกล่าวมิได้
พระราชบัญญัติ คือ  เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์รองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย สส.และสว. พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ และเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 
พระราชกำหนด คือ กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้
พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ คือ กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาล 
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย                                                                                                                                                                             ตอบ       -รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ภายหลัง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ฉบับนี้เป็น ฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นปัญหาเกิดความขัดแย้ง เผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุน และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง อาทิ การขาดความมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่าง อาทิ มีการกำหนดให้ สว.เกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร รวมทั้งมีการให้อำนาจสิทธิองค์กรอิสระในการใช้อำนาจเหนือฝ่ายบริหารได้ หากขัดหรือแย้งต่อกฎหมายหลักหรือกฎหมายลูก ฉะนั้นคงไม่แปลกที่รัฐบาลมาจากประชาชนปัจจุบัน มีนโยบายที่แก้ไขรัฐธรรมนูญคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้ง เพราะกฎหมายดังกล่าวดิฉันมองว่ายังขัดกับการบริหารประเทศ แต่ใช่ว่าทุกบท หรือทุกมาตรา เป็นแค่ส่วนหนึ่งเองที่ขัดต่ออำนาจประชาชน ตามระบบประชาธิปไตย
-ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด  คือ ประเทศชาติและประชาชนรวมทั้งจะต้องศึกษาเทียบเคียงกับกฎหมายของต่างประเทศในประเด็นต่างๆที่จะยกร่างกฎหมายนั้นด้วย ถ้าสามารถทำได้โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและความเหมาะสมในการนำมาปรับใช้กับสังคมไทย และที่สำคัญจะต้องหาความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการ วิทยาการ แบบแผนหรือแนวโน้มที่เกี่ยวกับสังคมใหม่ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับใช้กับการยกร่างกฎหมาย เพื่อให้ร่างกฎหมายมีความทันสมัยเหมาะกับการปฏิบัติในสภาพสังคมจริงๆ
-หากเราไม่มีกฎหมายมนุษย์ไม่ต่างอะไรกับสัตว์  ฉะนั้นกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งของสังคม กล่าวคือสังคมซึ่งเป็นที่รวมของคนหมู่มากอาจมีทั้งคนดีและคนเลยปะปนกันอยู่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข ระเบียบหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เรียกรวมๆ กันว่าระเบียบของสังคม 

  3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ       ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือที่เรียกกันว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพระบุว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย (1) พระมหากษัตริย์ (2) พระราชินี (3) รัชทายาท หรือ (4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
                ปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 มีหลายประการ ได้แก่ การตีความ อัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุกขั้นต่ำ 3-15 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สิทธิและเสรีภาพของบุคคลมีความสำคัญกฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้ใครก็ได้กล่าวหาใครก็ได้ว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่างจากกฎหมายหมิ่นประมาททั่วไปที่เฉพาะผู้เสียหายเท่านั้นที่จะดำเนินการฟ้องร้องได้ จึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้กลั่นแกล้งกันได้ง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคม ปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็นโดยสุจริตในประเด็นสาธารณะที่เกี่ยวพันกับราชการแผ่นดิน นอกจากนั้น อัตราโทษที่สูงและความไม่มีมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมายยังสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวและการเลือกที่จะเงียบของคนในสังคม ทั้งยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯอย่างรอบด้าน และส่งเสริมให้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาถกเถียงในทางสาธารณะเพื่อหาทางออกร่วมกัน

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพาทขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน แดน                                                                                                                                                                                              ตอบ        เรื่องเขาพระวิหาร แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้ หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้งคงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทาง กฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านหรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล                                                                                                                                                                                         ตอบ         เห็นด้วย เพราะกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษา เป็นกฎหมายแม่บททางการศึกษาเพื่อเป็น "ธรรมนูญทางการศึกษา" ของชาติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำในเรื่องของการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาเสมือนเป็นรัฐธรรมนูญการศึกษาในการจัดการดังกล่าวได้อย่างยิ่ง

6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้น พื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกัน คุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
ตอบ   การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เช่น การถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากตัวเอง หรือจัดมาจากคนอื่นและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น                                                                                                                                     การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นการศึกษาช่วงก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวะ หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
             การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง เป็นการศึกษาที่รวมระหว่าง การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนได้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต
             การศึกษาในระบบ หมายถึง เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษาที่แน่นอน
             การศึกษานอกระบบ หมายถึง เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคลแต่ล่ะกลุ่ม
             การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ ความสนใจของตนเอง โดยจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆหรือที่ผู้ปกครองสนับสนุน
             สถานศึกษา หมายถึง เป็นสถานที่ในจัดการการเรียนรู้ เช่น โรงเรียน สถาบัน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชนจัดให้ก็ได้
             สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
             มาตรฐานการศึกษา หมายถึง มาตรฐานหรือข้อกำหนด เช่น คุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นในการประกันคุณภาพ
             การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยคนในสถานศึกษาเป็นผู้ประเมินเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
             การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยคนภายนอก หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
             ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ และเป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ
             ครู หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
             คณาจารย์ หมายถึง เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ทั้งรัฐและเอกชน
             ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
             ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
             บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบรอหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ  กระบวนการจัดการงานว่า ประกอบด้วยหน้าที่ (functions) ทางการจัดการ 5 ประการ คือ
1. การวางแผน (Planning) หมายถึง ภาระหน้าที่ของครูที่จะต้องทำการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการจักการเรียนรู้ และกำหนดขึ้นเป็นแผนการปฏิบัติงานหรือวิถีทางที่จะปฏิบัติเอาไว้ เพื่อสำหรับเป็นแนวทางของการทำงานในอนาคต
2. การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่ครูจำต้องจัดให้มีโครงสร้างของงานต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องจักร สิ่งของและตัวคน อยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม ในอันที่จะช่วยให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จได้
3. การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) หมายถึง หน้าที่ในการสั่งงานต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งกระทำให้สำเร็จผลด้วยดี โดยที่ครูจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี จะต้องเข้าใจผู้เรียนของตน
4. การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงงานของทุกคนให้เข้ากันได้ และกำกับให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
5. การควบคุม (Controlling) หมายถึง ภาระหน้าที่ในการที่จะต้องกำกับให้สามารถประกันได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่ได้วางไว้แล้ว
                ทั้ง 5 หน้าที่ที่ Fayol ได้ดิฉันคิดว่าเป็นวิถีทางที่จะให้ผู้บริหารหรือครูทุกคน สามารถบริหารงานของตนให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้

8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ  ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ผิด เพราะครูทุกท่านที่จบมาตามหลักสูตรอื่นก็มีคุณสมบัติเพียบพร้อมความเป็นครู และมีความตั้งใจที่จะสอนจริง แต่อาจเนื่องด้วยผู้สอนมีข้อจำกัดหรือข้อจำเป็นบางอย่างหรืออาจไม่ทราบรายละเอียดในทางกฎหมายการศึกษาตามมาตรา 46 ที่ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
                ดังนั้นเพื่อให้การนำเนินการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ผู้สอนควรศึกษากฎหมายการศึกษา และดำเนินการขออนุญาติหรือขอใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภาให้ถูกต้อง

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ  (1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
          (2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
          (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
          (4) ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
          (5) ต้องเป็นผู้ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ ตามกลุ่มวิชา/สาขาวิชาเอก
          (6) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูผู้สมัครสอบต้องนำมาแสดงในวันสมัครสอบและวันรายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ และแต่งตั้ง หากไม่มีหรือไม่นำมาแสดงถือว่าขาดคุณสมบัติ จะเรียกร้องสิทธิใด ๆ มิได้
           (7) ไม่เป็นพระภิกษุสงฆ์ หรือสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ   จากที่ดิฉันได้เรียนวิชานี้ นอกจากดิฉันจะได้รับความรู้ และเนื้อหาที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการประกอบอาชีพครูในอนาคตแล้ว ดิฉันยังได้รับความรู้ เรื่องการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ที่ดิฉันสร้างมาด้วยมือหลังจากได้เรียนรู้จากอาจารย์ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน ชีวิประจำวัน และการทำงาน ได้เป็นอย่างดียิ่ง และการสอนโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ของครูผู้สอนเองนั้นก็มีความเหมาะสม เนื่องจากครูผู้สอนมีความรู้ในด้านนี้เป็นอย่างดี มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง ได้รับประสบการณ์จริง เป็นการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ ความคิดเห็นและทัศนะคติของตนเองอย่างใช้ความคิดสร้างสรรค์ และยังเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ใหม่ๆ และทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ด้วย
และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ดิฉันให้เกรด A เพราะว่าวิชานี้เป็นวิชาที่สำคัญและต้องอาศัยความรู้ความจำและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนที่จะจดจำและทำความเข้าใจในเนื้อหาได้ทั้งหมด แต่ว่าด้วยวิธีการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Webblog เข้ามาเป็นสื่อการจัดการการเรียนรู้ของอาจารย์นั้น ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจและจดจำในรายละเอียดของเนื้อหาวิชานี้ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก Webblog เป็นสื่อที่ทันสมัย เหมาะสมสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความหลากหลายในการใช้งาน ผู้ใช้และผู้เยี่ยมชมหน้า Webblog สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนะคติเกี่ยวกับเรื่องที่ทางวิชาการได้อีกทั้งเป็นการทบทวนเนื้อหาสำหรับผู้ใช้ในเวลาเดียวกันด้วย  และข้าพเจ้าคิดว่าจะได้เกรด A เพราะว่าข้าเจ้ามองว่าตนเองทำได้ดี โดยดูจากผลงานทั้งด้านการแสดงความรู้ ความคิดเห็น เกี่ยวกับเนื้อหาในรายวิชานี้ อีกทั้งหากเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังเรียนวิชานี้แล้ว ดิฉันได้ความรู้ทั้งด้านเนื้อหาความรู้และการใช้งาน Webblog ประกอบการเรียนการสอนจากครูผู้สอนเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมค่ะ