1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับตามลักษณะของกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความ
หลักความเสมอภาคถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะ
ที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด
เป็นต้น
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ
และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน
ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เนื่องจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
แต่ยังมีหลายหน่วยงาน สถานศึกษา
ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่ยังไม่มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด
จึงมีการกำหนดแนวทางให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้
กรณีสถานศึกษามีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลที่ยังไม่มีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.
๒๕๔๘ โดยคณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการ
มอบให้เลขาธิการคุรุสภาอนุญาตให้ผู้ขอประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบ
ได้คราวละ ๒ ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตาม
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.
๒๕๔๘เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหาร และ
การจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สินทั้งจากรัฐ
องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น
และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาโดย เป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
รัฐบาลได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้กับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. รายจ่ายงบบุคลากร ให้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างชั่วคราว เช่นจ้างครูอัตราจ้าง
ยาม เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด คนขับรถ
2. รายจ่ายงบดำเนินการ ให้ใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ เช่น
วัสดุการศึกษา ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าพาหนะ ที่พัก และเบี้ยเลี้ยง ค่าเวชภัณฑ์
ค่าเครื่องเขียน ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันกีฬา และค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ
ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
3. รายจ่ายงบลงทุน ให้ใช้จ่ายเป็นค่าครุภัณฑ์ เช่น
จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ครุภัณฑ์การศึกษา
และค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ รูปแบบการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ ดังนี้
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัด การศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของ การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม (3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษาในระบบมีสองระดับ ดังนี้
1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัด การศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของ การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม (3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษาในระบบมีสองระดับ ดังนี้
1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างกัน เนื่องจาก “การศึกษาภาคบังคับ” เป็นการศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง
ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ส่วนการศึกษาพื้นฐาน
(Basic education) เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน
ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไป
เช่นการศึกษาสำหรับเด็กวัยเริ่มต้น การศึกษาระดับประถม การสอนให้รู้หนังสือ
ทักษะความรู้ทั่วไป ทักษะเพื่อการดำรงชีวิต สำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่ ในบางประเทศ
การศึกษาพื้นฐานยังขยายขอบเขตไปถึงระดับมัธยมด้วย
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม 2 3 4 5 และ 6 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม 2 3 4 5 และ 6 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
ตอบ โดยที่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนเกี่ยวกับคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและอนุคณะกรรมการข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นการศึกษา
รวมทั้งบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานของบุคคลงานของข้าราชการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
ทำให้การบริหารของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปโดยล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ
สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอันจะเป็นประโยชน์ในการบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ
หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ กระทำผิด เพราะ พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ในมาตรา 43ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้
การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(1)
ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2)
ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา
หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5)
ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์
และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7)
ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ตอบ วินัย คือ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ
และแบบธรรมเนียมที่กำหนดไห้ปฏิบัติตาม หรือไม่ให้ปฏิบัติโทษทางวินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
มี 5 สถาน คือ ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
1. ภาคทัณฑ์
เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือนนอกจากนี้
ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน
เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา 2
เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ เช่น
ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิด ความผิดวินัยร้ายแรง
4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก
เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จ
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ “เด็ก” หมายถึง
ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
หรือบุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ หรือ
บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีลงมา หรือบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์
“เด็กเร่ร่อน” หมายถึง
เด็กเร่ร่อนตามวิถีของครอบครัว ลักษณะของเด็กเร่ร่อนกลุ่มนี้ เปรียบแล้วเหมือนกับ
"ยิปซี" ที่อพยพเคลื่อนย้ายไปทำมาหากินตามที่ต่างๆในพื้นที่ต่างๆ
หากเด็กไทย กลุ่มนี้จะเร่ตามครอบครัวไปตามแหล่งงานใหม่ ได้แก่ งานในไร่อ้อย
งานกรีดยาง จนถึงงานตามแหล่งก่อสร้างทั่วไป และงานขอทานที่เร่ขอและพักตามข้างทางในเมืองใหญ่ และเป็นเด็กเร่ร่อนที่หลุดออกมาจากครอบครัว
ลักษณะของเด็กเร่ร่อนกลุ่มนี้
ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ได้รับแรงผลักอย่างรุนแรงจากครอบครัวตั้งแต่ความแร้นแค้น
ความลำบากในครอบครัว การถูกดุด่าและตบตีเป็นประจำ
การถูกบังคับใช้งานอย่างหนัก จนเด็กๆทนรับสภาพเหล่านี้ไม่ไหว
จึงหนีออกมาจากบ้าน
มาเร่ร่อนไปในที่ต่างๆและใช้ชีวิตของตนเองตลอดจนให้ชีวิตของตนเองอยู่รอด
“เด็กกำพร้า” หมายถึง คือผู้ขาดบิดา ผู้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว
หรือขาดมารดา ผู้เป็นกำลังใจและความอบอุ่น เด็กกำพร้าบางคน ขาดทั้งพ่อ ขาดทั้งแม่
ต้องอยู่ในความดูแลของผู้เป็นย่า หรือยาย หรือญาติคนอื่น ๆ
ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจนอยู่แล้ว
จึงทำให้ชีวิตของเด็กกำพร้ามีแต่ความทุกข์ยาก ขาดความอบอุ่น
ขาดอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ขาดโอกาสทางการศึกษา ขาดสภาพแวดล้อมที่ดี ๆ
ที่จะหล่อหลอมให้เขาเติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ
ชีวิตของเด็กกำพร้ามี่แต่ความบกพร่อง เป็นเรื่องปกติที่เด็กที่ขาดความอบอุ่นทางใจ
จะเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายถึง
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายถึง
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร
เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ทารุณกรรม” หมายถึง
การกระทำที่เป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมาย
หรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
การทารุณกรรมทางกายมีทั้งแบบรุนแรงมากและรุนแรงน้อย ประเภทรุนแรงมากได้แก่
ตีด้วยมือ หรือวัตถุของแข็ง เตะ กัด จี้ด้วยของร้อน ทำ ร้ายด้วยอาวุธ เช่น มีด
ปืน เป็นต้น
ส่วนการทารุณที่ไม่แรงนักได้แก่ การผลัก กระฉาก ตีก้น ไสหัว ขว้างวัตถุใส่ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น